พืชกระท่อมอยู่ในวงศ์ Rubiaceae มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Mitragyna speciosa พบมากที่สุดในประเทศไทย, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, และฟิลิปปินส์ ในประเทศไทย, พืชนี้มีการกระจายพันธุ์ที่สูงในภาคใต้ของประเทศ และพบได้ในบางจังหวัดของภาคกลาง เช่น ปทุมธานี และนนทบุรี นอกจากนี้ยังพบได้บริเวณตอนบนของประเทศมาเลเซีย โดยเฉพาะที่ราบลุ่มริมแม่น้ำ
กระท่อมเป็นพืชที่อยู่ในวงศ์เข็มและกาแฟ (Rubiaceae) เป็นไม้ยืนต้น สามารถเจริญเติบโตได้ดีในที่ชุ่มชื้น ที่มีความชื้นสูง ดินอุดมสมบูรณ์ และมีแสงแดดปานกลาง กระท่อมมีสารที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาท ทำให้มีผลต่อจิตใจและประสาทหลัง เป็นพืชพื้นเมืองของประเทศไทยและมาเลเซีย สามารถพบได้ในเขตร้อนและกึ่งร้อนของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทวีปแอฟริกา
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของพืชกระท่อม
ลำต้น
- มีความสูงได้ถึง 25 เมตร
- ความยาวรอบลำต้นน้อยกว่า 1 เมตร ลำต้นตรง
ใบ
- หูใบเป็นรูปใบหอก
- ความยาวถึง 4 เซนติเมตร
- มีสันกลางรวงเร็ว
- ใบรูปรีหรือรูปไข ยาว 12 – 17 เซนติเมตร ปลายเป็นติ่ง
เส้นใบ
- เส้นใบย่อยแบบขั้นบันได
- ก้านใบยาว 2.5 – 5 เซนติเมตร
ช่อดอก
- เป็นช่อกระจุกแน่นออกเดี่ยวๆ ที่ปลายกิ่ง
- ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร
- มีประมาณ 70 – 80 ดอก
กลีบดอก
- ใบประดับรูปช่อนหุ้มกลีบเลี้ยง ความยาว 4-6 มิลลิเมตร
- หลอดกลีบยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร ปลายจักตื้นๆ
- ดอกรูปดอกเข็ม
- สีชมพู
- หลอดกลีบยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร
- กลีบยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร
รังไข่เกลี้ยง
- ยอดเกสรรูปกระบอง ความยาว 1-2 มิลลิเมตร
- ผลรวมที่แข็งแรง มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ในช่วง 2-3 เซนติเมตร
- ผลยาวที่ยื่นออกมา อยู่ในช่วง 7-9 มิลลิเมตร
- เมล็ดมีลักษณะแบน มีความยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร และมีปุ่มบางที่ปลายทั้งสองด้าน
ผล
- มีลักษณะเป็นแคปซูล
- ภายในผลอัดแน่นไปด้วยเมล็ด
- เมล็ดมีลักษณะแบน
พืชกระท่อมทั่วทั้งโลกมีจำนวน 10 สายพันธุ์ โดยกระจายอยู่ในทวีปแอฟริกาฝีงตะวันตก 4 สายพันธุ์ และทวีปเอเชีย 6 สายพันธุ์ พบได้ตามพื้นที่ที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร เช่น บริเวณคาบสมุทรมาลายู, เกาะบอร์เนียว, ประเทศฟิลิปปินส์, เกาะนิวกีนี, และพบมากในภาคใต้ของประเทศไทย ที่มีอุดมสมบูรณ์และความชื้นสูง
สายพันธุ์ของพืชกระท่อมในประเทศไทยประกอบด้วย 5 สปีชีส์ ได้แก่
- Speciosa (Korth.) Havil กระท่อม ท่อม อีถ่าง
- rotundifolia (Roxb.) Kuntze กระทุ่มเนิน แก่นเหลือง ตุ่มกวาว
- hirsute Havil กระทุ่มโคก ตุ่มเขา ทุ่มพาย
- diversifolia (Wall ex G. Don) Havil กระท่อมขี้หมู กระทุ่มดง กระทุ่มนา ตุ่มน้ำท่อมขี้หมู
- M. parvifolia Korth กระทุ่มใบเล็ก
ชนิดของกระท่อมในประเทศไทยแบ่งได้เป็น 3 ชนิด ได้แก่ ชนิดก้านใบสีแดง (ที่นิยมมากที่สุด) ชนิดก้านใบสีเขียว(พันธุ์แตงกวา) และชนิดขอบใบหยี(ยักษ์ใหญ่/หางกั้ง) โดยลักษณะก้านใบสีแดง และก้านใบสีเขียวจะขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ
ลักษณะสารประกอบของพืชกระท่อม
พืชกระท่อมสามารถสร้างและสะสมสารหลากหลายกลุ่ม ได้แก่ alkaloids, flavonoids, triterpenes, phenolic compounds เป็นต้น โดยสารกลุ่ม indole alkaloids เป็นสารกลุ่มใหญ่ที่จะพบในพืชกระท่อม และมีสารสำคัญหลัก คือ mitragynine ปริมาณที่พบในใบกระท่อมของไทยจะมีสูงถึง 66% โดยน้ำหนัก เมื่อเทียบกับปริมาณสารสกัด alkaloid ทั้งหมด mitragynine เป็นสารหลักที่พบในพืชกระท่อมอยู่ในส่วนของใบ ส่วนสารอัลคาลอยด์ 7 – ไฮดรอกซีไมตราไจนีน (7 – Hydroxymitragynine) มีปริมาณไม่มากนัก แต่มีฤทธิ์แก้ปวดแรงกว่าไมตราไจนีนและมอร์ฟีน
มีรายงานการวิจัยเปรียบเทียบปริมาณไมตราไจนีนในใบกระท่อมของไทยเปรียบเทียบกับมาเลเซีย พบว่าปริมาณไมตราไจนีนของไทยมีสูงกว่ามาเลเซียประมาณ 5 เท่า และพบว่ารูปแบบการสร้างและสะสมสารอัลคาลอยด์ของทั้งสองแหล่งแตกต่างกัน ด้วยปัจจัยของสภาพแวดล้อม ทำให้พืชเจริญเติบโต สร้างและสะสมสารที่แตกต่างกัน
การใช้พืชกระท่อมแบบดั้งเดิมได้รับรายงานว่าช่วยในการรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อ อาการอักเสบ อาการไอ และอาการท้องเดิน ซึ่งมีการออกฤทธิ์ผ่านตัวรับชนิดโอปิออยด์ (opioid receptors, ตัวรับสารฝิ่น) นอกจากนี้ต้นกระท่อมยังถูกนำมาใช้ในชีวิตประจำวันของคนไทยและบางคนในประเทศมาเลเซียในรูปแบบต้มน้ำดื่มหรือเคี้ยวใบสด เพื่อให้สามารถทำงานกลางแจ้งได้นานขึ้น สำหรับการทดลองในสัตว์ทดลองมีมากมาย เมื่อปี พ.ศ. 2531 มีรายงานว่าบริษัท Smith – Kline and French Laboratories ได้ทดลองในชั้นพรีคลินิกบนมนุษย์ นั่นเป็นการทดลองเชิงคลินิกครั้งแรกที่มีการรายงานถึงผลข้างเคียง (side effects) ที่เกิดขึ้นหลายอย่าง อย่างไรก็ตามยังไม่มีรายงานการเสียชีวิตจากการใช้พืชกระท่อมโดยลำพัง ทั้งในรูปแบบการต้มน้ำดื่มและเคี้ยวใบสด
พืชกระท่อมมีความสำคัญทางท้องถิ่นของประเทศไทยและมาเลเซีย นอกจากนี้ยังพบได้ในเขตร้อนและกึ่งร้อนของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทวีปแอฟริกา มีบันทึกข้อมูลทางพฤกษศาสตร์และเชิงวิจัยรวมทั้งการใช้ประโยชน์จากพืชกระท่อมมายาวนาน แสดงให้เห็นว่าการเลือกนำสรรพคุณข้อดีของพืชกระท่อมมาต่อยอดหรือแปรรูปในเชิงอุตสาหกรรมย่อมสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคเกษตรกรรมให้พัฒนาขึ้นได้