เชื่อว่าหลายคนต้องรู้จักหรือเคยได้ยินชื่อต้นกระท่อม แต่อาจไม่เคยรู้ถึงประวัติความเป็นมาว่าเป็นอย่างไรนั้น ต้นกระท่อมภาษาอังกฤษเขียนได้ว่า “Krathom” ได้สร้างความสนใจอย่างมากในโลกสุขภาพในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เป็นพืชที่มีถิ่นกําเนิดในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งพบว่ามีการใช้เป็นยาสมุนไพรมายาวนาน ทั้งในประเทศ ไทย, อินโดนีเซีย, พม่า, มาเลเซีย, นิวกินี ฯลฯ ในบทความนี้เราจะพาดำดิ่งสู่โลกที่น่าสนใจของกระท่อมและพบกับประโยชน์ทางพฤกษศาสตร์ที่ไม่เหมือนใครกันเลยว่าทำไมถึงถูกนำมาใช้เป็นเวลามากกว่าศตวรรษ
ลักษณะทางอนุกรมวิธานและพฤกษศาสตร์
ต้นกระท่อมมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mitragyna speciosa Korth เป็นพืชในวงศ์กาแฟ ซึ่งเป็นพืชเขตร้อนชื้นยืนต้นขนาดกลางที่เขียวชอุ่มตลอดปี มีใบเดี่ยวเรียงเป็นคู่ตรงกันข้าม ขนาดใหญ่เรียบสีเขียวเข้มมันวาว แผ่นใบบาง เกิ่งก้านอยู่ต่ำ จึงทำให้เก็บได้ง่าย ต้นกระท่อมสูงได้ตั้งแต่ 10 ถึง 20 กว่าเมตร ลำต้นมีลักษณะสูงตรง ดอกมีสีขาวอมเหลืองออกเป็นช่อกลมเล็ก แหล่งที่พบในประเทศไทยจำนวนมากคือในป่าบริเวณภาคใต้ เช่น สุราษฎร์ธานี, ตรัง, สตูล, พัทลุง, สงขลา ฯลฯ หรือภาคกลางอย่างปทุมธานี โดยในกระท่อมมีสารสำคัญในกลุ่มอัลคาลอยด์ (Alkaloids) อย่างโอปิออยด์ (Opioids) และ ไมทราไจนีน (Mitragynine) ที่สามารถนำมาสกัดใช้ประโยชน์ทางอุตสาหกรรมและการแพทย์ได้
ต้นกระท่อมมีกี่สายพันธุ์
ต้นกระท่อมมีหลายสายพันธุ์ โดยในแต่ละสายพันธุ์นั้นประกอบด้วยสารสำคัญที่แตกต่างกันออกไปรวมถึงรสชาติใบที่แตกต่างกัน ส่วนสายพันธุ์ที่พบมากในประเทศไทยมีดังนี้
- ต้นกระท่อมขี้หมู
- ต้นกระท่อมพันธุ์แตงกวาหรือก้านเขียว
- ต้นกระท่อมหางกั้งก้านแดง
- ต้นกระท่อมก้านแดง
หากถามว่าแล้วต้นกระท่อมพันธุ์ไหนดีนั้น ในเชิงอุตสาหกรรมพันธุ์ที่ได้รับความนิยมคือ สายพันธุ์หางกั้งก้านแดงและก้านแดง ในการนำมาแปรรูปเป็นยาหรือเครื่องดื่มชูกำลัง ส่วนสายพันธุ์ก้านเขียวเหมาะสำหรับนำมาใช้เป็นสมุนไพรรักษาโรคหรือบริโภคในครัวเรือน ซึ่งการปลูกนั้นไม่ยุ่งยาก ปกติมักจะใช้ต้นกระท่อมเสียบยอดเพราะสายพันธุ์จะนิ่งกว่าปลูกแบบเมล็ด เหมาะกับการปลูกในดินที่ลุ่ม มีน้ำทั่วถึงหรือชุ่มชื้นอย่างเช่น ที่นา ส่วนปุ๋ยสำหรับต้นกระท่อมเน้นใส่ปุ๋ยคอกเป็นหลัก ถือได้ว่าเป็นการเพิ่มมูลค่าที่ดินที่ไม่สามารถปลูกพิชเศรษฐกิจอื่นๆ ได้ แถมแปลงสภาพพืชกระท่อมให้กลายมาเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศแทน
ถึงแม้ต้นกระท่อมจะปลูกง่ายก็ตาม แต่หากขาดการดูแลเอาใจใส่ก็อาจทำให้ขาดแร่ธาตุจนเกิดเป็นต้นกระท่อมใบเหลืองได้เช่นกัน
การใช้ต้นกระท่อมแบบดั้งเดิมและเป็นยา
ในอดีตต้นกระท่อมเป็นพืชที่ถูกนำมาเป็นตัวยาสำหรับแก้ท้องสีย, ท้องเฟ้อ ปวดเมื่อย แก้อาการนอนไม่หลับและใช้ระงับประสาทแบบตำราพื้นบ้าน แต่ปัจจุบันสรรพคุณของต้นกระท่อมได้ถูกนำมาสกัดเอาสารที่มี โอปิออยด์ (Opioids) และ ไมทราไจนีน (Mitragynine) มาใช้ประโยชน์ในปริมาณหรือสัดส่วนที่ไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงทางด้านการแพทย์แผนปัจจุบันแทน ซึ่งสารโอปิออยด์มีฤทธิ์ช่วยให้รู้สึกสงบ บรรเทาอาการปวด ส่วนสารไมทราไจนีนที่พบได้ในเฉพาะพืชกระท่อมเท่านั้นมีฤทธิ์ช่วยแก้ปวดและต้านการอักเสบ
การควบคุมและการกำกับดูแล
ในปีพ.ศ. 2486 ประเทศไทยก้าวประกาศควบคุมพืชกระท่อม พระราชบัญญัติเรื่องพืชกระท่อม พ.ศ. 2486 ได้กำหนดเงื่อนไขที่ห้ามปลูก และครอบครองพืชกระท่อมรวมทั้งห้ามจัดจำหน่ายและการบริโภค เริ่มตั้งแต่ปีพ.ศ. 2522 กระทั่งถึงปีพ.ศ. 2564 มีการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติเรื่องยาเสพติดอีกครั้งเพื่อทำให้เกิดการยกเลิกการควบคุมพืชกระท่อมออกจากบัญชียาเสพติดอีกครั้ง รวมถึงยกเลิกบทลงโทษทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับพืชกระท่อม
กฎหมายนี้ได้กำหนดมาตรการควบคุมการปลูกพืชกระท่อม การขาย การนำเข้า หรือการส่งออกใบกระท่อมเพื่อสนับสนุนและกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยกำหนดให้บุคคลหรือหน่วยงานที่มีผลต่อการปลูกพืชกระท่อม, การขาย, การนำเข้า หรือการส่งออกกระท่อมจะต้องได้รับใบอนุญาตและระบุคุณสมบัติและข้อบังคับเกี่ยวกับสถานที่ที่สามารถขาย นำเข้า หรือส่งออกพืชกระท่อมได้ นอกจากนี้ยังจำเป็นต้องกำหนดมาตรการป้องกันการใช้กระท่อมในทางที่ไม่ถูกต้อง เช่น ห้ามขายกระท่อม น้ำต้มใบกระท่อม หรืออาหารที่มีใบกระท่อมเป็นวัตถุดิบหรือส่วนประกอบให้แก่บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี หญิงตั้งครรภ์ และหญิงที่ให้นมบุตร ผู้ที่ละเมิดมีโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท และห้ามบริโภคใบกระท่อมหรือน้ำต้มใบกระท่อมที่ผสมกับยาเสพติดให้โทษ ผู้ละเมิดมีโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท เป็นต้น
องค์การสหประชาชาติยังไม่ได้ประกาศควบคุมพืชกระท่อมในบัญชีรายชื่อยาเสพติดหรือวัตถุที่มีฤทธิ์ตามอนุสัญญาระหว่างประเทศ แต่สำนักงานควบคุมยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) ได้ขอความร่วมมือจากสมาชิกเพื่อเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ของสารที่เป็นส่วนประกอบของพืชกระท่อม รวมถึงประเทศบางประเทศเช่น เดนมาร์ก, ลัตเวีย, ลิทัวเนีย, โปแลนด์, โรมาเนีย, สวีเดนและนิวซีแลนด์ ที่กำหนดให้พืชกระท่อม สารไมทราไจนีน และสาร 7-hydroxymitragynine เป็นยาควบคุม
และยังมีหลายประเทศที่อนุญาตให้ซื้อขายและส่งออกกระท่อมได้อย่างถูกกฎหมาย เช่น อินโดนีเซีย อังกฤษ มีการจำหน่ายกระท่อมในรูปแบบใบสด ใบแห้ง ผง และสารสกัด ผู้บริโภคสามารถหาซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์
โลกที่น่าสนใจของต้นกระท่อมยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม เผยให้เห็นถึงข้อดีในการนำพืชกระท่อมมาใช้ประโยชน์ทางด้านสุขภาพและการแพทย์สำหรับผู้ที่มีปัญหาเจ็บป่วยหรือมีภาวะสุขภาพผิดปกติ อย่างไรก็ตามหากต้องการอัพเดทเกี่ยวกับข่าวสารล่าสุดของกระท่อมและผลิตภัณฑ์แปรรูปเกี่ยวกับสุขภาพ ความงามของเรา สามารถลงทะเบียนได้ที่นี่เพื่อรับจดหมายและข้อมูลเชิงลึกรวมทั้งโปรโมชั่นใหม่ๆ ได้ก่อนใคร